ปวดต้นคอ


ปวดต้นคอ (Neck Pain) เป็นอาการปวดกล้ามเนื้อคอที่หลายคนเป็นได้บ่อย ๆ โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เกี่ยวข้องหรือมีสาเหตุที่ร้ายแรง และสามารถทุเลาลงภายในไม่กี่วัน แต่อาการปวดต้นคอที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดจากสาเหตุร้ายแรง 

อย่างการได้รับบาดเจ็บหรือป่วยเป็นโรคที่ต้องรับการรักษาจากแพทย์ หากเกิดอาการปวดต้นคออยู่เรื่อย ๆ ติดต่อกันนานมากกว่าหนึ่งสัปดาห์ หรือเกิดอาการชา มือและแขนอ่อนแรง หรือเจ็บแปลบที่ไหล่หรือแขน ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุและรับการรักษา

อาการปวดต้นคอ
ผู้ที่เกิดอาการปวดต้นคอนั้น มักปรากฏลักษณะของอาการดังต่อไปนี้

1.รู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อต้องหันคอไปด้านใดด้านหนึ่งเป็นเวลานาน เช่น ขับรถหรือนั่งทำงานท่าเดิมนาน ๆ
2.กล้ามเนื้อตึงหรือกระตุก
3.หันศีรษะหรือคอไม่ค่อยได้
4.นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจเกิดอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่
- ชา
- เสียวแปลบ
- กลืนอาหารลำบาก
- ได้ยินเสียงคล้ายหวดไม้อยู่ในหัว
- ปวดศีรษะและวิงเวียนศีรษะ
- ต่อมน้ำเหลืองบวม

ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดหัว เจ็บใบหน้า ปวดไหล่ แขนชาและรู้เสียวแปลบ ซึ่งอาการเหล่านี้มักเป็นอาการที่เกิดจากเส้นประสาทคอถูกกดทับ และบางรายก็อาจเกิดอาการปวดหลังช่วงบนหรือหลังช่วงล่างด้วย ซึ่งเป็นผลมาจากกระดูกสันหลังอักเสบด้วยโรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด (Ankylosing Spondylitis)
สาเหตุของการปวดต้นคอ
คอมีความยืดหยุ่นและทำหน้าที่รับน้ำหนักศีรษะ จัดเป็นอวัยวะที่เปราะบาง ได้รับบาดเจ็บและเกิดอาการปวดหรือแข็งเกร็งได้ง่าย โดยสาเหตุที่ทำให้ปวดต้นคอ แบ่งได้ดังนี้
1.กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง  เป็นอาการปวดต้นคอที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากกล้ามเนื้อแข็งเกร็งนั้นมาจากกิจกรรมหรือพฤติกรรมในการใช้งานกล้ามเนื้อคอที่ผิดท่าและนานเกินไป ได้แก่
-จัดวางระเบียบท่าทางไม่ถูกต้อง
-นั่งทำงานนานเกินไปโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ
-นอนหลับแล้วหันคอผิดท่า
-คอกระตุกระหว่างออกกำลังกาย
-ก้มหน้าเล่นโทรศัพท์หรืออ่านหนังสือเป็นเวลานาน
-นอนกัดฟัน

การได้รับบาดเจ็บที่คอคอถือเป็นอวัยวะเปราะบาง เสี่ยงได้รับบาดเจ็บได้ง่าย โดยอาการบาดเจ็บที่คอเกี่ยวเนื่องกับการที่ศีรษะถูกกระชากทันที มักเกิดขึ้นหลังจากได้รับการกระทบกระเทือนโดยไม่ทันตั้งตัว เช่น รถชน เป็นต้น ภาวะดังกล่าวทำให้ข้อต่อหรือเอ็นของคอได้รับความเสียหาย นอกจากอาการปวดต้นคอและคอแข็งแล้ว การได้รับบาดเจ็บที่คอยังทำให้กล้ามเนื้อคอตึง เคลื่อนไหวคอได้น้อยลงและจะเจ็บเมื่อต้องหันคอ รวมทั้งปวดหัวด้วย
ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative Disc Disease)
มักเป็นสาเหตุอาการปวดต้นคอในผู้สูงอายุ บางครั้งก็เรียกภาวะนี้ว่า โรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม (Cervical Spondylosis) มักไม่ปรากฏอาการ หากกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมอยู่ใกล้เส้นประสาทจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บลามไปตั้งแต่แขน เป็นเหน็บ และชาที่มือและขา ทั้งนี้ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีส่วนใหญ่จะเกิดกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมโดยอาจไม่มีอาการปวดต้นคอ

เส้นประสาทถูกกด (Pinched Nerve) อาการปวดต้นคอที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดนั้นมีสาเหตุมาจากโรครากประสาทคอ (Cervical Radiculopathy) โดยส่วนใดส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลังที่อยู่ระหว่างข้อกระดูกสันหลังนั้นแยกออกและมีเจลข้างในกระดูกนูนออกมาข้างนอกใกล้กับเส้นประสาท พบในผู้สูงอายุได้บ่อยกว่า

เนื่องจากกระดูกสันหลังเริ่มเสื่อมและสูญเสียมวลน้ำเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้กระดูกขาดความยืดหยุ่นและเสี่ยงต่อการกระดูกแยกได้ง่าย นอกจากปวดต้นคอแล้ว อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น รู้สึกชา เกิดอาการเหน็บชา แขนบางส่วนเจ็บและอ่อนแรง ผู้ป่วยอาจรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ ทั้งนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยบางราย

การติดเชื้อ อาการติดเชื้อที่พบได้ทั่วไปอย่างการติดเชื้อไวรัสในคอ จะทำให้ท่อน้ำเหลืองบวม นำไปสู่อาการปวดคอได้ นอกจากนี้ อาการปวดต้นคอยังมาจากการติดเชื้อที่พบได้ไม่บ่อย เช่น วัณโรค กระดูกอักเสบและหมอนกระดูกสันหลังอักเสบ (ทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (เกิดการติดเชื้อบริเวณเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ผู้ป่วยมักมีอาการปวดหัวและเป็นไข้ร่วมกับอาการคอแข็ง)
ภาวะที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อคอ อาการปวดต้นคอสามารถเกิดจากภาวะอื่นที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อคอโดยตรง เช่น กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออ่อน (Fibromyalgia) หรือภาวะปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนเหตุอักเสบเรื้อรัง (Polymyalgia Rheumatica: PMR)
อาการปวดต้นคออาจมาจากสาเหตุร้ายแรงหากผู้ป่วยเป็นมานานและอาการแย่ลงเรื่อยๆ รวมทั้งเกิดอาการต่อไปนี้
-มีอาการอ่อนแรง หรือชาบริเวณแขนหรือมือ
-ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม
-มีปัญหาการเดินและการเคลื่อนไหว
-ร่างกายไม่สามารถควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้
-เป็นไข้สูงและคอแข็งเกร็ง
-น้ำหนักลดอย่างหาสาเหตุไม่ได้
สาเหตุของอาการปวดต้นคอจะยิ่งรุนแรงขึ้นหากผู้ป่วยเพิ่งได้รับบาดเจ็บมาไม่นาน หรือมีประวัติป่วยเป็นมะเร็งหรือโรคที่ทำลายภูมิคุ้มกันร่างกาย

การวินิจฉัยการปวดต้นคอ
แพทย์จะดูประวัติอาการปวดคอ อาการอื่น ๆ ที่เกิดร่วมกับอาการปวดคอ และการรักษาที่ผ่านมาของผู้ป่วย และตรวจดูว่าคอของผู้ป่วยเกิดอาการตึง ชา หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงแค่ไหน รวมทั้งดูว่าผู้ป่วยสามารถหันศีรษะไปข้างหน้า ข้างหลัง หรือด้านข้างได้มากน้อยเท่าใด นอกจากนี้ แพทย์อาจทำการตรวจเพื่อวินิจฉัยอาการด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนี้
1.การตรวจด้วยภาพสแกน วิธีนี้ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ใช้วินิจฉัยประกอบกับประวัติการรักษาของผู้ป่วยและการตรวจร่างกาย แพทย์อาจต้องทำการตรวจผู้ป่วยโดยใช้วิธีที่แสดงภาพกล้ามเนื้อคอให้เห็นชัดเจนขึ้น เพื่อวินิจฉัยอาการปวดต้นคอของผู้ป่วย ดังนี้
-เอกซเรย์ ภาพเอกซเรย์จะแสดงบริเวณเส้นประสาทหรือกระดูกสันหลังที่อาจถูกกระดูกงอก (Bone Spurs) กดทับหรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกระดูกสันหลัง
-การทำซีทีสแกน การทำซีทีสแกนควบคู่ไปกับภาพเอกซเรย์คอจุดต่าง ๆ จะช่วยให้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อคอได้มากขึ้น
-การตรวจ ด้วยเอ็มอาร์ไอ วิธีนี้จะช่วยให้เห็นกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน รวมทั้งไขสันหลังและเส้นประสาทที่มาจากไขสันหลัง
2.การตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ นอกจากการตรวจด้วยภาพสแกนแล้ว ยังปรากฏการตรวจและวินิจฉัยอาการปวดต้นคอด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนี้
-การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography: EMG) แพทย์จะตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อเมื่อคิดว่าอาการปวดต้นคอของผู้ป่วยอาจเกี่ยวข้องกับเส้นประสาทถูกกดทับ โดยแพทย์จะสอดเข็มผ่านผิวหนังเข้าไปและเริ่มทำการตรวจเพื่อวัดความเร็วของสัญญาณประสาท โดยความเร็วของสัญญาณประสาทจะช่วยให้รู้ว่าเส้นประสาทของผู้ป่วยทำงานปกติหรือไม่
-การตรวจเลือด วิธีนี้จะช่วยให้รู้ว่าผู้ป่วยมีอาการอักเสบหรือติดเชื้อหรือไม่ ซึ่งทั้งสองอย่างอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการปวดต้นคอ

การรักษาอาการปวดต้นคอ
วิธีรักษาอาการปวดต้นคอขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ตรวจพบ ส่วนใหญ่แล้วอาการปวดต้นคอจากกล้ามเนื้อที่มีอาการไม่รุนแรงนั้น มักดูแลให้ดีขึ้นได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุญถวายเพลิง พระอาจารย์สุดใจ ทันตมโน

ภูมิปัญญาไทยไม่เคยล้าสมัย

ฟ้าทะลายโจร สรรพคุณอะไรบ้าง